|
· บุคคลทั่วไปออนไลน์: 1
· สมาชิกออนไลน์: 0
· สมาชิกทั้งหมด: 329
· สมาชิกใหม่: alaska
|
|
|
|
|
|
พิธีพุทธาภิเษก เหรียญที่รฤกพิธีบูชาครู ปี 2554 และ พิธีบูชาครู ปี 2554 |
|
|
ด้านหน้าเหรียญ
ได้นำพระยันต์พระลักษณ์หน้าทองประทับไว้กึ่งกลางเหรียญ และล้อมรอบด้วย เศียรของมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ 9 พระองค์ ซึ่งแต่ละพระองค์มีรายละเอียดและความสำคัญดังนี้.-
- พระอิศวร เทพเจ้าผู้สร้างโลก กายสีขาว มงกุฎน้ำเต้า ทรงตรีศูลเป็นเจ้าฟ้า พระอุมาภควดี เป็นพระมเหสี
- พระพรหมธาตา เทพเจ้าแห่งพรหมวิหาร กายสีขาว 4 พักตร์ 8 กร มงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด ทรงซ้อน ลูกประคำ คนโท คัมภีร์พระเวทย์ มีธนู
- พระนารายณ์ เทพเจ้าผู้รักษาความดี กายสีดอกตะแบก มงกุฎเดินบน มงกุฎชัยห้ายอด ทรงตรี คฑาทอง จักร และสังข์
- พระวิษณุ เทพเจ้าแห่งครูช่างทุกชนิด กายสีเขียว มงกุฎน้ำเต้าทรงลูกดิ่ง และฉาก
- พระคเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปะ และวรรณคดี กายสีสัมฤทธิ์ พระเศียรเป็นช้าง สี่กร มงกุฎน้ำเต้ามะเฟือง ทรงวชิระ มีงา ข้างเดียว กะโหลกใส่น้ำมนต์ มีเชือกบ่วงบาศก์
- พระปัญจสีขร เทพเจ้าแห่งวิชาการดนตรี กายสีขาว หนึ่งหน้า สี่มือ มงกุฎน้ำเต้าสี่ยอด
- พระประโคนธรรพ เทพคนธรรพ์ กายสีหงเสน หรือสีแดงเสน 1 หน้า 2 มือ มงกุฎน้ำเต้า มีวงทักษิณาวรรต ทั้งตัว
- พระพิราพ อสูรเทพบุตร หัวโล้น (พิราพป่า) มีกายเป็นวงทักษิณาวรรต หรือกายม่วงแก่ หนึ่งพักตร์ สองกร สวมกระบังหน้าปากแสยะ ตาจระเข้ อาวุธหอกอยู่เชิงเขาอัคกรรณ มีสวนสำหรับเที่ยวเล่น ปลูกพวาทอง
- พระฤาษี (พระพรตมุณี) พฤฒาจารย์แห่งสรรพวิทยา
ด้านหลังเหรียญ
ประทับไว้ด้วยพระยันต์มหาจักพรรตราธิราชซึ่งนับเป็นพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ และมีพุทธานุภาพสุดประมาณมีความเป็นมาและรายละเอียดดังนี้ พระยันต์มหาจักพรรตราธิราชนี้ต้นตำหรับเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดประดู่โรงธรรม กรุงเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามตำรากล่าวไว้ว่า พระพรหมมุนี อยู่วัดปากน้ำประสบได้ลงเป็นตะกรุดคำถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้ามาแล้ว จนกระทั่งพระองค์ได้ครองเมืองลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อทรงได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้พระตำรานี้มาจากมหาเถรเทียรราชวัดงู มาจากพระพิชัยวัดท่างูเห่ากับได้มาจากพระอาจารย์คงโหร และได้มาจากท่านอาจารย์ผู้วิเศษสืบๆ มาหาที่อุปมามิได้ต่อมาภายหลังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้
เคยได้มีการประกอบ พิธีลงยันต์ตะกรุดนี้ถวายสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงให้มีกาลประกอบพิธีสร้างตะกรุดมหาจักรพรรตราธิราช
เรียญเชิญศิษยานุศิษย์
เข้าร่วมงาน
พิธีพุทธาภิเษก เหรียญที่รฤกพิธีบูชาครู ปี 2554 และ พิธีบูชาครู ปี 2554
โดยมีกำหนดการดังนี้
พิธีพุทธาภิเษก เหรียญ ที่รฤก ใน วันที่ 6 สิงหาคม 2554 เวลา 18.30 น.
ได้นินมต์พระเกจินั่งปรก รวม 17 รูป ดังมีรายนามต่อไปนี้
-1.หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
-2.หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง
-3.หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียนวนาราม
-4.หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี
-5.หลวงพ่ออุดม วัดปทุมคนาวาส
-6.หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม
-7.หลวงพ่อศิริ วัดตาล
-8.หลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหียง
-9.หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ
-10.หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว
-11.หลวงพ่อทองดี วัดโอรสาราม
-12.พระอาจารย์เพ็ญ วัดเขาล้อ
-13 .หลวงพ่อดำ
-14.ครูบาพรหม สำนักสงพุทธรรมเทพมณี
-15.พระมหาวีรพงษ์
-16.พระอาจารย์บัวลอย วัดอินทรบุรี
-17.หลวงพ่อกิติวัฒน์ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี เสกเดี่ยวก่อนพิธีพุทธาพิเษก
คณะสงฆ์ วัดเลา กทม สวดมหาจักพรรดิ์
พิธีบูชาครู ปี 2554 วันที่ 7 สิงหาคม 2554
ครั้งนี้ ทางวัดได้จัดงานบูชาครูเป็นครั้งที่ 2 โดยมีกำหนดการ จัดงาน 3 ปี 1 ครั้ง
ผู้เข้าร่วมพิธีจะได้รับเหรียญ ที่รฤก พิธีบูชาครู ปี 2554
รูปแบบเหรียญทีี่รฤก
|
|
|
|
|