dich vu seo hcm vเ cแc sản phẩm khแc của cong ty ch๚ng t๔i lเ dich vu seo tphcm hay cong ty seo hcm vเ dich vu seo tphcm dich vu seo hcm
เมนู
· หน้าแรก
· ประวัติวัดจุฬามณี
· ประวัติเจ้าอาวาส
· ประวัติท้าวเวสสุวรรณ
· ภาพบรรยากาศวัด
· กระดานสนทนา
· แผนที่ไปวัด
· ติดต่อเรา
· แกลอรี่ภาพ
· ค้นหา
หลวงพ่อเนื่อง
· หนังสือสุทธิ หลวงพ่อเนื่อง
· ไขข้อข้องใจเหรียญหลวงพ่อเนื่อง
· หนังสือไขข้อข้องใจหลวงพ่อเนื่อง
· เหรียญเลื่อนสมณะศักดิ์ (พัดยศ) หลวงพ่อเนื่อง ปี 17 ของปลอมดูอย่างไร

วัตถุมงคล
· วัตถุมงคล
· ท้าวเวสสุวรรณรุ่นแรก
· ท้าวเวสสุวรรณ ชุดพิเศษ
· เหรียญ รุ่นแรกรูปเหมือน พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ หรือ หลวงพ่ออิฏฐ์

บทความ
· รายการบันทึกลึกลับ ตอนหลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี
· รายการเปิดบันทึกตำนาน ตอนหลวงพ่อเนื่อง-วัดจุฬามณี
· รายการเปิดบันทึกตำนาน ตอนหลวงพ่ออิฏฐ์-วัดจุฬามณี
· รายการบันทึกลึกลับ ตอนตำนานท้าวเวสสุวรรณ
· หลวงพ่ออิฏฐ์ เล่าถึง หลวงพ่อตัด วัดชายนา
· ท้าวเวสสุวรรณ ลอยองค์ รุ่นแรก พิมพ์เข่าย่อ ปี 32 ของปลอมดูอย่างไร
· ท้าวเวสสุวรรณจำปีตะกั่วปี45ของปลอมดูอย่างไร
· รอยจารบนเหรียญท้าวเวสสุวรรณจำปีตะกั่วปี45
· รอยจารบนเหรียญท้าวเวสสุวรรณจำปีตะกั่วปี45 ภาค2
· ชนวนเหรียญจำปี ปี45 เนื้อทองแดง
· เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ หลวงพ่ออิฏฐ์
· ชี้แจงเรื่อง เหรียญเก้าเศียร รุ่นนพเก้า
· เหรียญพระเหนือพรหม ปี36

ประมวลภาพงานพิธี
· พิธีพุทธาภิเษก เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์
· พิธีพุทธาภิเษก เหรียญที่รฤกบูชาครู ปี54
· ภาพ พิธีบูชาครู ปี54
· VDO พิธีบูชาครู ปี54
· พิธีพุทธาภิเษก เหรียญท้าวเวสสุวรรณ ปี54
· 1วันก่อน พิธีพุทธาภิเษก ก่อนงานไหว้ครู ปี55
· VDO พิธีพุทธาภิเษก ก่อนงานไหว้ครู ปี55
· งานพิธี บรวงสรวงอุโบสถ ปี 57
· งานพิธีพุทธาพิเษกชนวนเหรียญรุ่นบูรณะอุโบสถ
· งานไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่ออิฏฐ์ ปี57

เข้าสู่ระบบ
User name

รหัสผ่าน



ลืมรหัสผ่าน?
ขอรหัสผ่านใหม่.
กำลังออนไลน์
· บุคคลทั่วไปออนไลน์: 1

· สมาชิกออนไลน์: 0

· สมาชิกทั้งหมด: 329
· สมาชิกใหม่: alaska
วัตถุมงคลวัดจุฬามณี
เนื้อ ทองเหลือง  (อลูมิเนียมบรอนซ์ เหรียญกษาปณ์) (วัตถุมงคล: เหรียญท้าวเวสสุวรรณ รุ่น 2 ปี 36 (พิมพ์พระเหนือพรหม)) พิมพ์เข่าย่อ เนื้อ เงิน (วัตถุมงคล: รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ ลอยองค์ รุ่น 1 ปี 32)
ประวัติวัดจุฬามณี
ประวัติวัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๙๓ หมู่ ๙ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ติดถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ

ด้านหน้าติดกับคลองอัมพวา เชื่อมติดต่อกับคลองบางผีหลอก ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามราวประมาณ ๗ กิโลเมตรเศษ และห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภออัมพวาประมาณ ๒ กิโลเมตร ด้านทิศเหนือติดกับถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ ทิศใต้ติดกับคลองอัมพวา วัดจุฬามณี เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มีความสำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกุล(ตระกูลบางช้าง) วัดจุฬามณี เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดแม่เจ้าทิพย์” ตามประวัติสืบมาได้ว่า วัดนี้สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามประวัติว่าท่านท้าวแก้วผลึก(น้อย) ธิดาคนหนึ่งของท่านพลาย ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด จึงมีทรัพย์และรายได้มากชั้นเศรษฐีผู้หนึ่ง จึงได้สร้างวัดจุฬามณีขึ้นมาใหม่ วัดจุฬามณีได้รับความอุปถัมป์ทำนุบำรุงจากมหาอุบาสก และมหาอุบาสิกาสำคัญ ซึ่งต่อมาภายหลังเป็นต้นราชวงศ์จักรี โดยภูมิประเทศแห่งนี้เป็นที่ประสูติของเจ้าผู้ครองประเทศไทยสืบต่อกันมา

ประวัติบ่งชัดว่า เป็นต้นราชตระกูลบางช้าง ข้อสำคัญก็คือ วงศ์ตระกูลราชนิกุลบางช้างนี้ มีต้นกำเนิดไปจากตำบลบางช้างนี้เอง นิวาสถานเดิมของท่านเศรษฐีทอง เศรษฐีสั้น เป็นพระชนกชนนีของ สมเด็จพระอัมรินทรามาตย์นั้นตั้งอยู่หลังวัดจุฬามณี ซึ่งเดินไปราวสัก ๕ เส้น(หรือราวประมาณ ๕ นาที) บริเวณนิวาสถานนั้นมีต้นจันทน์ใหญ่อยู่ ๓ ต้น แต่ละต้นวัดโดยรอบประมาณ ๒ คนโอบ ระหว่างต้นห่างกันประมาณ ๔ วา กล่าวกันว่าปลูกอยู่ข้างบ้านของท่านเศรษฐีทั้งสอง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าต้นจันทน์ได้ทิ้งซากล้มขอนไว้จนผุ ซากนี้ยังคงทิ้งขอนอยู่จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๑๐

ต่อมาได้ทราบว่าท่านศึกษาธิการอำเภออัมพวาในสมัยนั้น ท่านสนใจต้องการทราบประวัติและหลักฐาน ทั้งทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ อันเป็นนิวาสถานเดิมของต้นราชตระกูลแห่งราชวงศ์จักรี จึงได้เดินทางไปสำรวจ แต่ตัวผู้เช่าสวนหรือเจ้าของที่ดินรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้เอาไฟเผาซากตอที่ทิ้งซากล้มขอนนั้นไปจนหมดสิ้นไม่เหลือร่องรอยไว้เลย เข้าใจว่าผู้เช่าหรือเจ้าของที่ดินบริเวณนั้นเกรงว่าทางราชการจะมายึดที่ดินคืน คงสงวนไว้เพื่อเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ก็เป็นได้ ซึ่งที่ต้นจันทน์ ๓ ต้นนี้ถูกปลูกขึ้นคงอยู่ใกล้นิวาสถานที่ประสูติ และเจริญพระชนม์ชันษา และประทับที่ตำหนักนี้

สมเด็จพระอมรินทรามาตย์(นาค) เป็นพระธิดารูปสวยงดงามของท่านเศรษฐีบางช้าง จนกิตติศัพท์เลื่องลือไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทรงแสวงหาสตรีรูปงามไปเป็นสนม ได้มีอำมาตย์ใกล้ชิดกราบบังคมทูลว่าธิดาเศรษฐีบางช้างรูปสวยนัก จึงได้จัดส่งคนมาสู่ขอ ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดา-มารดาทราบเข้า จึงชิงยกลูกสาวให้แต่งงานกับมหาดเล็กชื่อทองด้วงเสียก่อน มหาดเล็กทองด้วงนั้นภายหลังได้มาเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองแม่กลอง แขวงราชบุรี เมื่อสมรสหรือแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กับศรีภรรยาที่ตำบลบางช้างนี้ ครั้นเมื่อเกิดศึกพม่ายกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาแตก หลวงยกกระบัตรทองด้วง ได้อพยพครอบครัวหลบภัยพม่าอยู่ในป่าทึบหลังวัดจุฬามณีนั่นเอง ก่อนที่จะได้ไปฝากตัวเข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ครองกรุงธนบุรี ต่อมาสิ้นแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลวงยกกระบัตรทองด้วงหรือเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ตั้งราชวงศ์จักรี สืบต่อมา

การหลบภัยพม่าครั้งนั้น ท่านนาคซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงครรภ์แก่ จึงต้องพาเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งสถิตย์อยู่ในพระครรภ์ไปหลบซ่อนพม่าอยู่ในป่าทึบหลังวัดจุฬามณีด้วย และต่อมาได้ประสูติกาล ท่านฉิม(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๐ ตรงกับวันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีกุน สถานที่ประสูติก็ว่าในนิวาสถานใกล้ต้นจันทน์อันเป็นนิวาสถานหลังเก่าของท่านเศรษฐีทอง เศรษฐีสั้น นั่นเอง และยิ่งไปกว่านั้น ในระหว่างที่หลบภัยพม่าอยู่หลังวัดจุฬามณีนั้น กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) พระพี่นางองค์ที่ ๒ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จหลบภัยพม่ามาอาศัยอยู่กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชด้วย กำลังอยู่ในระหว่างทรงพระครรภ์แก่และได้ประสูติพระธิดา ในป่าหลังวัดจุฬามณีด้วยเหมือนกัน เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๑๐ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน พระธิดาพระองค์นี้ทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ซึ่งถือนิมิตที่ว่าหนีพ้นพม่าข้าศึกมาได้ ภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้อภิเษกสมรสเป็นมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ นับเป็นพระบรมราชินีองค์ที่ ๒ ของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นการประหลาดมากที่ได้มาถือกำเนิดที่ตำบลบางช้างในป่าหลังวัดจุฬามณี เหมือนสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ แผ่นดินตำบลบางช้าง เมืองสมุทรสงคราม บริเวณหลังวัดจุฬามณีนี้ จึงนับว่าเป็นแผ่นดินที่เป็นมงคลยิ่ง เพราะเหตุ ๕ ประการคือ
๑) เป็นสถานที่กำเนิดของพระชนก-ชนนีของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ เท่ากับเป็นดินแดนต้นกำเนิดของราชนิกุลบางช้าง
๒) เป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ และ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระราชินีในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขชาวสมุทรสงครามโดยตรง
๓) เป็นสถานที่ประทับดับร้อนของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก่อนที่จะไปเป็นแม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี และต่อมาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ตั้งราชวงศ์จักรี ได้เคยฝากดาบฝากแหวนไปถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากดินแดนแห่งนี้ ตำบลบางช้างจึงเป็นสถานที่ตั้งเนื้อตั้งตัวของพระองค์ท่านโดยแท้
๔) เป็นสถานที่ได้รับทุกขเวทนาของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ที่ต้องเสด็จหลบหนีภัยพม่าไปพักแรมอยู่ในป่าระหว่างทรงพระครรภ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
๕) เป็นสถานที่ประสูติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๑๐ สถานที่ประสูติ ในป่าหลังวัดจุฬามณี ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อกันมาว่า ท่านเศรษฐีทองกับเศรษฐีสั้น เป็นเศรษฐีใจบุญชอบทำบุญฟังธรรมและถือศีลอุโบสถในวันพระ ๘ ค่ำและ ๑๕ ค่ำ เสมอเป็นนิจ มาวันหนึ่งซึ่งวันนั้นเป็นวันพระ ท่านเศรษฐีสองสามีภรรยาได้ไปถือศีลอุโบสถอยู่ที่วัดจุฬามณี ได้ปวารณาตนว่าจะยึดมั่นภาวนารัษาศีลเป็นเวลาคืนและวัน จะไม่ไปไหนหากยังไม่ย่างเข้าวันใหม่ จะไม่ออกจากวัดกลับบ้าน ซึ่งสมัยนั้นมีท่านเจ้าอาวาสของวัดจุฬามณีคือท่านพระอธิการอิน ซึ่งเป็นคนในตระกูลเศรษฐีบางช้างผู้หนึ่ง ได้มาอุปสมบทจนได้เป็นสมภารของวัดจุฬามณี พอตกกลางคืนบ่าวไพร่มาแจ้งว่าอัคคีไฟกำลังไหม้บ้านขอให้รีบกลับไป แต่ด้วยว่าท่านเศรษฐีทั้งสองมีความมั่นคงในบวรพุทธศาสนา ไม่ว่อกแว่กหวั่นไหวปลงใจตกว่า อันทรัพย์สมบัติย่อมจะต้องมีวิบัติ แม้แต่ชีวิตร่างกายของคนเราก็ยังมีเกิด มีดับ ไปเป็นธรรมดา เมื่อทรัพย์ยังอยู่ ชีวิตยังอยู่ก็ได้ใช้ทรัพย์ไป เมื่อทรัพย์สูญไปหรือชีวิตดับไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทรัพย์จะเป็นของเราก็หาไม่ ทรัพย์สมบัติเป็นของนอกกาย เมื่อชีวิตยังอยู่ก็คงทำมาหาได้ เมื่อคิดดังนั้นแล้วได้สั่งบ่าวไพร่ว่า ให้ขนทรัพย์สินที่พอหยิบยกได้เอาโยนลงคลองขนัดสวนไป ได้เท่าไรก็เอาขนใส่ลงไปเท่านั้น ส่วนตัวท่านทั้งสองทำใจยึดมั่นอยู่ในการเจริญภาวนาถือศีล รักษาอุโบสถ จวบจนกระทั่งรุ่งเช้าของวันใหม่ ท่านเศรษฐีทั้งสองก็กลับเคหาบ้านเรือนของท่าน ก็ปรากฎว่าอัคคีไฟไหม้บ้านเรือนของท่านไปหมดแล้ว

เรื่องนี้แสดงว่า วัดจุฬามณีมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ท้าวแก้วผลึก(น้อย)เศรษฐีในวงศ์ราชนิกุลบางช้างคงสร้างวัดจุฬามณีนี้ขึ้นมาประมาณปีพุทธศักราช ๒๑๙๐ จะก่อนหรือหลังจากนี้ก็ไม่กี่ปี ท่านเศรษฐีสั้นพระชนนีของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ที่เคยมาถือศีลรักษาอุโบสถที่วัดจุฬามณีนี้นั้น ท่านได้มีอายุต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ ท่าน สิ้นอายุขัยไปในราวปีพุทธศักราช ๒๓๔๔ อายุได้ ๙๐ ปีเศษ ท่านคงเกิดในราวปีพุทธศักราช ๒๒๕๐ วัดจุฬามณีคงสร้างก่อนท่านเกิดราวประมาณ ๗๐ ปี เพราะท่านท้าวแก้วผลึก(น้อย) ผู้สร้างวัดจุฬามณีนี้เป็นคนในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง เป็นธิดาท่านพลอย เป็นน้องสาวท่านชี ท่านชีเป็นมารดาของท่านเศรษฐีทอง จะเป็นด้วยว่า วัดจุฬามณี(วัดแม่เจ้าทิพย์)นั้นเป็นวัดเก่าแก่จริงๆซึ่งควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้าแต่ก็คงยากพอสมควร เพราะว่าสภาพเก่าแก่ของวัดได้ถูกธรรมชาติรบกวนทำลายปรักหักพังไปเกือบหมดสิ้นแล้ว พระอุโบสถเก่าแก่ที่เชื่อว่าท่านเศรษฐีทอง เศรษฐีสั้นมาถือศีลรักษาอุโบสถได้ถูกรื้อทิ้งลงไปเพราะธรรมชาติได้ทำลายจนใช้การไม่ได้แล้ว ทางวัดในสมัยท่านพระครูโกวิทสมุทรคุณ(เนื่อง) จึงทำการสร้างอุโบสถในบริเวณที่ตรงนั้นด้วยประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งอุโบสถหลังเก่าพังยุบลงมาเหลือแต่ฐานล่างแล้ว จึงต้องรื้อไป

วัดจุฬามณี ได้เคยเจริญรุ่งเรืองมาแล้วเพราะมีสมภารเจ้าอาวาสเป็นผู้มีสติปัญญาปราดเปรื่อง นามของท่านชื่อว่า ท่านพระอธิการเนียม นัยว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ ที่สืบมาได้ของวัดจุฬามณี ท่านพระอธิการเนียมรูปนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสืบกันมาว่า ท่านเชี่ยวชาญทางหนังสือขอม ในสมัยนั้นท่านสามารถให้กัมมัฏฐานกับบรรดาผู้ที่ใส่ใจเลื่อมใสใคร่อยากเรียนปฏิบัติ ไม่เพียงเท่านั้นท่านยังสามารถเป็นครูสอนหนังสือ มีญาติโยมส่งลูกหลานเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก จนสามารถตั้งเป็นโรงเรียนสอนหนังสือไทยและหนังสือขอมขึ้นในวัดจุฬามณีได้ ต่อมาท่านได้ละสังขารไป เมื่อสิ้นท่านไปเสียแล้วในราวปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ วัดจุฬามณีเกือบจะเป็นวัดร้างมีพระจำพรรษาอยู่เพียงไม่กี่รูป จนวัดเสื่อมสภาพทรุดโทรมปรักหักพังเสียเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านทนดูสภาพความเสื่อมของวัดอยู่ไม่ได้จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกัน โดยมีกำนันตำบลปากง่าม(ปัจจุบันคือตำบลบางช้าง)เป็นประธานมีความเห็นตกลงกันว่า ควรไปขออาราธนาพระอาจารย์แช่ม โสฬส ซึ่งเป็นพระลูกวัดจำพรรษาอยู่ในวัดบางกะพ้อม มีพรรษาและคุณวุฒิความรู้ดีพอที่จะปกครองวัดให้เจริญรุ่งเรืองได้ จากหลวงปู่คง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม สมัยนั้นหลวงปู่คงท่านทราบความประสงค์ท่านก็ไม่ขัดข้อง ได้ส่งหลวงพ่อแช่ม โสฬส ผู้เป็นศิษย์ที่ท่านได้อบรมสั่งสอนประสิทธิ์ประสาธน์วิชาธรรมปฏิบัติเป็นอย่างดีมาเป็นเจ้าอาวาส

เมื่อหลวงพ่อแช่มท่านได้มาแล้ว ท่านได้ริเริ่มปลูกสร้างเสนาสนะสงฆ์และสร้างศาลาการเปรียญ จวบจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ท่านได้ปฏิบัติภารกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสาธุชนด้วยความเมตตานุเคราะห์เป็นอย่างดีเจริญรอยตามหลวงปู่คงผู้อุปัชณาย์เพียบพร้อมทุกประการ มาถึงปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ หลวงพ่อแช่ม โสฬส ท่านจึงได้มรณภาพลงด้วยอายุ ๘๔ ปี ทำการประชุมเพลิงในปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ การประชุมเพลิงท่านสิ้นสุดลงแล้ว ทางการคณะสงฆ์จังหวัดเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งพระภิกษุเนื่อง โกวิโท ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป ซึ่งต่อมาก็คือท่านพระครูโกวิทสมุทรคุณ(เนื่อง โกวิโท เถาสุวรรณ) ท่านรูปนี้เป็นศิษย์ทั้งของหลวงปู่คง ธมฺมโชโต และหลวงพ่อแช่ม โสฬส ตามลำดับ

วัดจุฬามณี ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปีพ.ศ.๒๑๗๒ ถึงพ.ศ.๒๑๙๐ กุฎีและอุโบสถล้วนสร้างจากไม้สักไม้เนื้อแข็ง แต่กาลเวลาที่ล่วงเลยย่อมมีการเสื่อมโทรมผุพังตามสภาพเป็นธรรมดา เจ้าอาวาสที่ปกครองวัดหลายองค์ได้รับภาระบูรณะซ่อมแซมวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ ให้มีสภาพมั่นคงสวยงามมาโดยตลอด โดยเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ พระครูโกวิทสมุทรคุณ(หลวงพ่อเนื่อง) โกวิโท เจ้าอาวาสองค์ก่อน ได้ประชุมคณะกรรมการวัดและศิษยานุศิษย์ เพื่อหารือสร้างอุโบสถหลังใหม่ แทนหลังเก่าที่เสื่อมโทรม ที่ประชุมเห็นชอบและได้ขอให้หลวงพ่อเนื่อง ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือทั่วประเทศออกวัตถุมงคลเหรียญ “หลวงพ่อเนื่อง” ซึ่งลูกศิษย์ทุกคนเรียกว่า รุ่นแซยิด น.บน และ นะ สังฆาฏิ แจกให้กับผู้ที่ร่วมสร้างอุโบสถหลังใหม่ และแผนงานทุกอย่างดำเนินการไปด้วยดีจนได้มีกำหนดวางศิลาฤกษ์อุโบสถวัดจุฬามณี ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๑ โดยนิมนต์ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (จวน อุฏฐายี) เสด็จมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในเวลา ๑๒.๓๐ น. ด้วย ชื่อเสียงของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเนื่องได้ระบือนาม ไปจนถึงในพระราชวังจนเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารพร้อมด้วยสมเด็จพระโสมสวลีพระวรชายา โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มากราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อเนื่อง และในวันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์

หลวงพ่อเนื่อง ได้ดูแลบูรณะปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี จนเป็นศาสนสถานอันร่มรื่น มีอุโบสถจตุรมุข หินอ่อน ๓ ชั้น กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร ที่มีมูลค่าก่อสร้างนับสิบล้านบาท ได้มีลูกศิษย์และผู้มีจิตศรัทธาได้บริจาคเงินร่วมสมทบการก่อสร้างจนเงินเกินงบประมาณ หลวงพ่อเนื่องได้เฝ้าติดตามดูแลอุโบสถหลังใหม่ ที่สร้างด้วยความปราณีตพิถีพิถันอยู่นานถึง ๒๐ ปีเศษ อุโบสถก็กำลังจะเสร็จสมบูรณ์เหลือเพียงบานหน้าต่างอีกเพียงไม่กี่บาน และพื้นอุโบสถที่ปูหินอ่อนใกล้จะเสร็จเรียบร้อย แล้วในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๐ เวลา ๐๖.๒๐ น. หลวงพ่อเนื่องก็ได้ละสังขารไปอย่างสงบ ทิ้งไว้แต่ผลงานสร้างวัดจุฬามณีให้ร่มรื่น เงินสดอีก ๒๙ ล้านบาทเศษ และอุโบสถหินอ่อนที่ใกล้จะแล้วเสร็จให้เจ้าอาวาสองค์ใหม่รับช่วงดำเนินการต่อไปท่ามกลางน้ำตาและความโศกเศร้าของลูกศิษย์ลูกหา

ต่อจากนั้นพระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่อง ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจุฬามณีด้วยวัยแค่ ๓๒ ปี พรรษา ๑๒ จากการลงคะแนนเลือกตั้งถึง ๒ ครั้ง โดยมีผู้เลื่อมใสในวัดจุฬามณีได้ร่วมกันลงคะแนนให้ความสนับสนุนอย่างท่วมท้นทั้ง ๒ ครั้ง และได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจุฬามณี เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒

พระอาจารย์อิฏฐ์ เริ่มงานแรกด้วยการนำเงินจำนวน ๓๐ ล้านบาท ไปจัดตั้งมูลนิธิ“หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท” นำดอกผลมาบำรุงสงฆ์ในวัด พัฒนาวัด และช่วยเหลือสาธารณะตามสมควร จากนั้นก็ได้สานต่องานสร้างอุโบสถของหลวงพ่อเนื่องที่ยังค้างอยู่ ปูพื้นอุโบสถชั้นบนสุดที่ยังค้างอยู่ด้วยหินหยก จากกรุงการาจี ประเทศปากีสถาน จนแล้วเสร็จ สร้างบานหน้าต่างด้านทิศเหนือที่ยังค้างอยู่อีก ๖ บาน ขนาดกว้าง ๔๐ ซ.ม. หนา ๑๐ ซ.ม. สูง ๓.๑ เมตร ด้านในแกะสลักเป็นลายไทย และเรื่องราวในนิทานชาดก ด้านนอกจะเป็นงานฝีมือสมุกรักฝังมุก ภาพตราพระราชลัญจกร ประจำรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ,รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ,รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ,รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช ,รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ,รัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ,รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ,พระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตก์พระบรมราชินีนาถ สก. ,สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สว. ,สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามบรมราชกุมาร มวก. ,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินทร สยามบรมราชกุมารี สธ. ,สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี จภ. ,ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) ๒๔๘๔ ,นพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) ๒๔๘๔ ,ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.) ๒๔๖๑ ,มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ๒๔๕๒ ,มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ๒๔๑๖ ,ประถมภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ๒๔๑๒ ,ประถมภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ๒๔๓๖ ภาพสมุกรักฝังมุกทุกภาพจะมีลักษณะวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ ซ.ม. อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมของบานหน้าต่าง บานละ ๗ ภาพ บานซ้ายและบานขวาของแต่ละช่องหน้าต่างจะเป็นภาพที่เหมือนกันเมื่อรวมกับช่องบานหน้าต่าง ทวารประตูอุโบสถทั้งสี่ทิศแล้ว อุโบสถวัดจุฬามณี นอกจากนี้ยังมีภาพตราแผ่นดิน ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เรื่องราวของพระพุทธประวัติ นิทานชาดกต่างๆ ให้ประชาชนได้ศึกษาอีกนับเป็นจำนวนกว่า ๒๐๐ ภาพ ซึ่งขณะนี้แล้วเสร็จมีผู้คนที่สนใจมาขอเข้าชมเป็นจำนวนมาก

ความเป็นมาของการเขียนจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถของวัดจุฬามณี ท่านพระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์อิฏฐ์) เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กำหนดจัดสร้างจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถของวัดซึ่งเป็นอุโบสถหินอ่อน จตุรมุข ๓ ชั้น ชั้นฐานกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร ประตูหน้าต่างด้านในแกะสลักเป็นลายไทย ส่วนด้านนอกเป็นงานฝีมือสมุกรักฝังมุก มีอัลลอยด์ลายดอกไม้เถาทุกประตูและหน้าต่าง และหน้าต่างด้านนอกมีรูปเทพประจำทิศเป็นอัลลอยด์

อาจารย์อิฏฐ์ กล่าวว่า มูลเหตุจูงใจในการสร้างจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถของวัดนี้ เนื่องจากตลอดเวลาที่เข้าไปทำกิจกรรมของสงฆ์ในอุโบสถ เช่น ทำวัตร สวดมนต์ ทุกครั้งที่มองไปรอบ ๆ ฝาผนังและเพดานอุโบสถล้วนเห็นแต่ช่องว่างเปล่า น่าเสียดายพื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ประโยชน์เหล่านี้ จึงคิดที่จะสร้างจิตรกรรมฝาผนังและเพดานอุโบสถไว้เพื่อเตือนใจและจูงใจให้ศาสนิกชนได้ใฝ่ใจในธรรมะยิ่งขึ้น และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษาในศิลปกรรมจากจิตรกรรมฝาผนัง เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาในเวลาเดียวกัน จึงได้ว่าจ้างช่างเขียนภาพจิตรกรรมในศิลปแบบอยุธยาผสมสานกับแบบรัตนโกสินทร์ ซึ่งท่านพระอาจารย์อิฏฐ์เรียกภาพจิตรกรรมนี้ว่าศิลปแบบ “รัตโนธยา” ได้เริ่มต้นการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังและเพดานอุโบสถ

ลำดับจ้าอาวาส วัดจุฬามณี ที่สืบได้มีดังนี้
๑.พระอธิการอิน มรณภาพ
๒.พระอธิการเนียม มรณภาพ
๓.พระอาจารย์แป๊ะ ลาสิกขาบท
๔.พระอาจารย์ปาน ลาสิกขาบท
๕.หลวงพ่ออ่วม มรณภาพ
๖.พระอาจารย์นุ่ม มรณภาพ
๗.หลวงพ่อแช่ม มรณภาพ
๘.หลวงพ่อเนื่อง (พระครูโกวิทสมุทรคุณ เนื่อง โกวิโท)เถาสุวรรณ มรณภาพ
๙.พระอาจารย์อิฏฐ์ (พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) น้อยมา องค์ปัจจุบัน