dich vu seo hcm vเ cแc sản phẩm khแc của cong ty ch๚ng t๔i lเ dich vu seo tphcm hay cong ty seo hcm vเ dich vu seo tphcm dich vu seo hcm
เมนู
· หน้าแรก
· ประวัติวัดจุฬามณี
· ประวัติเจ้าอาวาส
· ประวัติท้าวเวสสุวรรณ
· ภาพบรรยากาศวัด
· กระดานสนทนา
· แผนที่ไปวัด
· ติดต่อเรา
· แกลอรี่ภาพ
· ค้นหา
หลวงพ่อเนื่อง
· หนังสือสุทธิ หลวงพ่อเนื่อง
· ไขข้อข้องใจเหรียญหลวงพ่อเนื่อง
· หนังสือไขข้อข้องใจหลวงพ่อเนื่อง
· เหรียญเลื่อนสมณะศักดิ์ (พัดยศ) หลวงพ่อเนื่อง ปี 17 ของปลอมดูอย่างไร

วัตถุมงคล
· วัตถุมงคล
· ท้าวเวสสุวรรณรุ่นแรก
· ท้าวเวสสุวรรณ ชุดพิเศษ
· เหรียญ รุ่นแรกรูปเหมือน พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ หรือ หลวงพ่ออิฏฐ์

บทความ
· รายการบันทึกลึกลับ ตอนหลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี
· รายการเปิดบันทึกตำนาน ตอนหลวงพ่อเนื่อง-วัดจุฬามณี
· รายการเปิดบันทึกตำนาน ตอนหลวงพ่ออิฏฐ์-วัดจุฬามณี
· รายการบันทึกลึกลับ ตอนตำนานท้าวเวสสุวรรณ
· หลวงพ่ออิฏฐ์ เล่าถึง หลวงพ่อตัด วัดชายนา
· ท้าวเวสสุวรรณ ลอยองค์ รุ่นแรก พิมพ์เข่าย่อ ปี 32 ของปลอมดูอย่างไร
· ท้าวเวสสุวรรณจำปีตะกั่วปี45ของปลอมดูอย่างไร
· รอยจารบนเหรียญท้าวเวสสุวรรณจำปีตะกั่วปี45
· รอยจารบนเหรียญท้าวเวสสุวรรณจำปีตะกั่วปี45 ภาค2
· ชนวนเหรียญจำปี ปี45 เนื้อทองแดง
· เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ หลวงพ่ออิฏฐ์
· ชี้แจงเรื่อง เหรียญเก้าเศียร รุ่นนพเก้า
· เหรียญพระเหนือพรหม ปี36

ประมวลภาพงานพิธี
· พิธีพุทธาภิเษก เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์
· พิธีพุทธาภิเษก เหรียญที่รฤกบูชาครู ปี54
· ภาพ พิธีบูชาครู ปี54
· VDO พิธีบูชาครู ปี54
· พิธีพุทธาภิเษก เหรียญท้าวเวสสุวรรณ ปี54
· 1วันก่อน พิธีพุทธาภิเษก ก่อนงานไหว้ครู ปี55
· VDO พิธีพุทธาภิเษก ก่อนงานไหว้ครู ปี55
· งานพิธี บรวงสรวงอุโบสถ ปี 57
· งานพิธีพุทธาพิเษกชนวนเหรียญรุ่นบูรณะอุโบสถ
· งานไหว้ครูบูรพาจารย์หลวงพ่ออิฏฐ์ ปี57

เข้าสู่ระบบ
User name

รหัสผ่าน



ลืมรหัสผ่าน?
ขอรหัสผ่านใหม่.
กำลังออนไลน์
· บุคคลทั่วไปออนไลน์: 1

· สมาชิกออนไลน์: 0

· สมาชิกทั้งหมด: 329
· สมาชิกใหม่: alaska
วัตถุมงคลวัดจุฬามณี
พิมพ์เข่าตรง เนื้อ เงิน (วัตถุมงคล: รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ ลอยองค์ รุ่น 1 ปี 32) เนื้อ เงิน (วัตถุมงคล: เหรียญหนุมานเชิญธง ปี 42 (มหาปราบ)(กองกษาปณ์))
เหรียญพระเหนือพรหม วัดจุฬามณี






















เหรียญพระเหนือพรหม วัดจุฬามณี

ผู้ค้นคว้า และเรียบเรียง โก้ แม่กลอง

ผู้ที่นำข้อมูลจากเว็บแห่งนี้ไปโปรดให้เครดิตด้วยครับ



เหรียญพระเหนือพรหม วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม ปั้มเหรียญโดยโรงกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จัดสร้างเมื่อปี 2536 และเข้าพิธีใหญ่ที่วัดจุฬามณี วันที่ 4 มีนาคม 2538


พิธีใหญ่ที่ วัดจุฬามณี พระเกจิเสก กว่า 80 รูป


จัดสร้างจำนวน 4 เนื้อ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า เนื้ออลูมิเนียมบอล(ทองเหลือง)


เหรียญนี้ จะรวมทั้ง พรุพุทธเจ้า ท้าวมหาพรหมธาดา ท้าวเวสสุวรรณพรหมมาสูติเทพ และ ท้าวเวสสุวรรณโณจตุมหาราชิกา


ด้านหน้าเหรียญ ด้านบนเป็นท้าวมหาพรหมธาดา พระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคน ด้านล่างจะเป็น ท้าวเวสสุวรรณโณจตุมหาราชิกา ท้าวเวสสุวรรณ เป็น เทพแห่งขุมทรัพย์ เป็น มหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก

ล้อมรอบด้วยพระคาถา " โองการพินทุนาถัง อุปปันนังพรหมาสะหะปะฏินามะอาทิกัปเป สุอาคะโต ปัจจะปะถุมัง ทิสสวา นะโมพุทธายะวันทะนัง - สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตถาคโต สิทธิเตโช ชโยนิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง สัพพะกัมมัง ประสิทธิเม สัพพะสิทธิ ภะวันตุเต" ซึ่งแปลว่า... ทำอะไรสำเร็จทุกอย่าง มีโชค มีลาภ และ เวทย์มนต์คาถา ปัดเป่าเสนียดจัญไรทั้งหลาย ทำน้ำมนต์เบิกเนตรพระก็ได้ ถอนกันแก้อุบาทว์ทั้งปวง


ด้านหลังเหรียญ จะบอกถึงการเชิดชูพระพุทธเจ้า ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง เหนือสิ่งใดในโลก ซึ่งมีท้าวเวสสุวรรณพรหมมาสูติเทพ ซึ่งเป็นชั้นพรหม อยู่ด้านล่าง บอกถึงการปกป้องรักษา คุ้มครอบดูแลพระพุทธศาสนา

พระพรหม คือ พระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคน พระพรหมจึงเป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของสรรพชีวิต เหตุการณ์สำคัญของโลกล้วนอยู่ในสายตาของพระพรหม พระพรหมคือมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสามตรีมูรติ ทรงรับฟังคำอธิษฐานของผู้ศรัทธาเสมอ ผู้บูชาพระพรหมและทำความดี จะได้รับการบันดาลพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา


พระพรหม มีพระนามหลากหลาย เช่น พระพรหมมา พระพรหมา พระพรหมธาดา ท้าวมหาพรหม ปชาบดี อาทิกวี อาตมภู โลกาธิปดี ฯลฯ


กำเนิดของพระพรหมมีมากมายหลายตำรา


ถ้าเป็นคัมภีร์ปุราณะของพราหมณ์ฝ่ายพระวิษณุเป็นใหญ่ (ไวษณพนิกาย) จะกล่าวถึง กำเนิดพระพรหม ว่า พระพรหมถือกำเนิดในดอกบัว ซึ่งดอกบัวนี้ผุดขึ้นมาจากพระนาภี (สะดือ) ของพระวิษณุ นั่นหมายถึง พระวิษณุมีมาก่อนทุกสรรพสิ่ง พระองค์ต้องการสร้างโลก จึงให้กำเนิดพระพรหมขึ้นมาเพื่อภารกิจนี้

ถ้าเป็นคัมภีร์ปุราณะของพราหมณ์ฝ่ายพระศิวะเป็นใหญ่ (ไศวะนิกาย) จะกล่าวถึงกำเนิดพระพรหมว่า พระศิวะใช้พระหัตถ์ข้างหนึ่งลูกพระหัตถ์อีกข้างหนึ่ง บังเกิดแสงขึ้นมาในพระหัตถ์ พระพรหมก็ออกมาจากแสงนั้นเอง ด้วยเหตุผลที่พระศิวะต้องการสร้างโลก จึงให้กำเนิดพระพรหมขึ้นมาเพื่อภารกิจนี้ ตำนานนี้พระศิวะจึงเป็นผู้มีมาก่อนทุกสรรพสิ่ง

สำหรับคัมภีร์ปุราณะของ ฝ่ายพระพรหม เองนั้นบันทึกไว้ว่า พระพรหมเกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีสิ่งใดมาก่อน แท้จริงแล้วพระองค์ไม่มีจุดกำเนิด คือ มีอยู่ตั้งแต่เริ่มต้นของจักรวาลแล้ว เรียกสภาวะของพระพรหมนี้ว่า อาปวะ เมื่อพระพรหมประสงค์จะสร้างสิ่งต่างๆ จึงได้แบ่งตัวเองออกเป็น 2 ภาค ภาคหนึ่งคือเพศชาย ภาคหนึ่งคือเพศหญิง (พระแม่สรัสวดี) ร่วมมือกันสร้างเทพองค์อื่นๆ เทวดา มนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณทั้งหลายในโลก


พระพรหม เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ทรงมีอานุภาพในการลิขิตชะตาชีวิต โดยควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎแห่งกรรม พระพรหมจึงเป็นผู้คุ้มครองคนดี และลงโทษผู้กระทำบาป ผู้มีกิเลสตัณหา จะถูกพระพรหมลิขิตให้ชีวิตมีแต่ความลำบากยากเข็ญ ผู้มีจิตใจเอื้ออารีย์ต่อผู้อื่น พระพรหมจะบันดาลให้มีความสุขและสมบูรณ์ในชีวิต การเสียสละต่อส่วนรวมคือการถวายความจงรักภักดีต่อพระพรหม พระพรหมจะบันดาลพรให้ผู้เสียสละนั้นมีแต่ความสุขตลอดกาล

ผู้ศรัทธาในพระพรหม เมื่อสวดบูชาต่อพระองค์แล้ว พระองค์จะประทานปัญญาในการประกอบอาชีพ ปกป้องให้ห่างจากศัตรู ประทานความแข็งแรง ความรู้แจ้ง ชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ และมอบความบริสุทธิ์ทางจิตวิญญาณแก่ผู้นั้น

พระพรหมทรงโปรดความเงียบสงบ ไม่วุ่นวาย มีพระทัยอ่อนโยน รักสรรพชีวิตที่พระองค์สร้างมาเสมอ เมื่อผู้ศรัทธาต้องการสักการะ พระพรหมก็โปรดการจัดการอย่างเรียบง่าย มีความตั้งใจ แต่ไม่ใหญ่โตวุ่นวาย พระองค์โปรดให้ลูกศิษย์สวดภาวนาว่า "สัก ชิต เอกัม พรหมมา" หรือ "โอม อาฮัม พรหมมา อัสมิ" เป็นร้อยๆ พันๆ หมื่นๆ แสนๆ เที่ยว และให้นั่งสมาธิตั้งจิตเพ่งไปที่พระองค์ การที่ผู้ศรัทธาได้อยู่กับพระพรหมตามลำพัง นั่งสมาธิและสวดภาวนาให้นานที่สุด พระองค์จะโปรดมาก เพราะพระองค์ทรงสอนว่า การนั่งอยู่กับที่และระลึกถึงพระองค์ บริโภคมังสวิรัติ ไม่ออกไปสร้างสิ่งเดือดร้อนให้ผู้อื่น คือการตอบแทนพระคุณพระพรหมได้ดีที่สุด


ศาสตราวุธของพระพรหม

ลูกประคำ คือ การสวดมนต์ภาวนาต่อพระพรหมเพื่อแผ่เมตตาไปยังสรรพชีวิต

ดอกบัว คือ ความสวยงามของธรรมะ ความดีงาม พระองค์ทรงสอนให้มนุษย์กระทำในสิ่งที่ดีงามและมีเมตตาต่อผู้อื่นเสมอ

คัมภีร์ คือ การตั้งตนอยู่ในความดีความชอบ การศึกษาบทสวดและโยคะเพื่อมุ่งตรงสู่พระผู้เป็นเจ้า

หม้อน้ำ คือ กมัณฑลุ หรือ หม้อกลัศ ที่นักพรตตวงน้ำจากแม่น้ำคงคา ไปใช้ในพิธีกรรมบูชาเทพต่างๆ (น้ำมนต์บริสุทธิ์)


ศาสตราวุธทั้ง 4 นี้คือศาสตราวุธหลัก แต่ก็ยังมีศาสตราวุธอีกมากมาย

แล้วแต่ช่างจะจินตนาการปั้นหรือวาด เพื่อเสริมความหมายขึ้นมา เช่น ธนู หอก กระจก

สังข์ ดาบ มีด กริซ ช้อนตักน้ำมันไฟ จักร คฑา ตลอดจนเครื่องดนตรีต่างๆ


พระพรหมเป็นผู้ให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท

พระพักตร์ทั้ง 4 ของพระพรหมจึงหมายถึง พระเวททั้ง 4

พระพักตร์ด้านตะวันออก คือ ฤคเวท / พระพักตร์ด้านใต้ คือ ยชุรเวท

พระพักตร์ด้านตะวันตก คือ สามเวท / พระพักตร์ด้านเหนือ คือ อาถรรพ์เวท



 

ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท่านท้าวกุเวร นั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ ยืนถือกระบองยาว หรือ คทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ย อีกด้วย กล่าวกันว่า ผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือ มีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวเวสสุวรรณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัย จากวิญญาณร้าย ที่จะเข้ามา เบียดเบียน ในภายหลัง ภาพลักษณ์ของท้าวกุเวร ที่ปรากฎในรูปของชายพุงพลุ้ย เป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่า เป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งมาในรูปของยักษ์ เป็นที่เคารพ นับถือว่า เป็นเครื่องราง ของขลัง ป้องกัน ภูติผีปีศาจ

“สารานุกรมไทย” ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439

กล่าวถึง ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่า ท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬ เรียก กุเวร ว่า กุเปรัน ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของ ทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบก ของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการ ผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวร ชื่อ อลกาอยู่ บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่ง ของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า สวนไจตรต หรือ มนทร มีพวกกินนร และคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาล ประจำทิศเหนือ จีน เรียกว่า โต้เหวน หรือ โต้บุ๋น ญี่ปุ่น เรียก พสมอน

ท้าวกุเวรนี้ สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑป ชื่อ ภคลวดี กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถาน ของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์ เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน

นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้ว ประพาฬ หอกทอง


โดยเหตุที่ท้าวเวสสุวัณเป็น “ เทพเจ้าแห่งทรัพย์ “

เป็นผู้รักษาทรัพย์ในแผ่นดินเป็นท้าวโลกบาลประจำทิศเหนือของสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาเป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์และภูตผีปีศาจและความมั่งคั่งไพบูลย์ทั้งหลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ไวศรวัณ เวสสุวัณ ธนบดี(เป็นใหญ่ในทรัพย์) ธเนศวร(เจ้าแห่งทรัพย์) อุจฉาวสุ(มั่งมีได้ดั่งใจ) ยักษราช(ขุนแห่งยักษ์) รัตนครรณ(พุงแก้ว)อีศะสขี(เพื่อนพระศิวะ)ฯลฯ

ในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง เรียกท้าวเวสสุวัณว่า “ท้าวไพศรพมหาราช” และได้พรรณนาถึงการแต่งองค์ไว้ว่า”ท้าวไพศรพมหาราชเป็นพระยาแก่ฝูงยักษ์แลเทพยดาทั้งหลายฝ่ายทิศอุดรเถิงกำแพงจักรวาลเบื้องอุดรทิศพระสุเมรุราชแลเครื่องประดับตัว แลบริวารทั้งหลายเทียรย่อมทองเนื้อสุกฝูงยักษ์ทั้งหลายนั้น บ้างถือค้อน ถือสากแลจามจุรีเทียรย่อมทองคำบ่มิรู้ขิร้อยล้านแลฝูงยักษ์นั้นมีหน้าอันพึงกลัวแลท้าวไพศรพจึงขึ้นม้าเหลืองตัว๑ดูงามดั่งทอง” จากคำพรรณนาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าท้าวเวสสุวัณหรือท้าไพศรพนั้นร่ำรวยมหาศาลมีทองคำมากมายไม่รู้กี่ร้อยล้าน ทั้งยังมีเครื่องประดับเป็นทองคำ บริวารก็ถือ ค้อนทอง สากทอง และทรงม้าสีทอง

ฝ่ายพุทธศาสนามีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกมหานิทานสูตร มหาวรรค ทีฆนิกาย กล่าวไว้ว่าดินแดนที่ประทับของท้าวเวสสุวัณชื่ออาลกมันทาราชธานีเป็นนครเทพเจ้าที่งดงามรุ่งเรืองมากโดยท้าวเวสสุวัณเทวราชโลกบาลองค์นี้เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันและเมื่อพระมหาโมคคัลลานะเดินทางขึ้นมาเยี่ยมเยียนพระอินทร์ท้าวสักกะเทวราช ณ มหาปราสาทไพชยนต์วิมาน ท้าวเวสสุวัณพระองค์นี้ก็ได้เสด็จเข้าร่วมให้การต้อนรับด้วยพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ หลังจากที่เสด็จสวรรคตเนื่องจากการทารุณกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นราชโอรสที่เข้ายึดอำนาจก็ได้มาอุบัติในโลกสวรรค์เป็นพญายักษ์เสนาบดีตนหนึ่งของท้าวเวสสุวัณนั่นเอง

ในอรรถาโลภปาลสูตรกล่าวว่าเมื่อถึงวันอุโบสถคือขึ้นหรือแรม ๘ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ องค์ จะลงมาตรวจโลกมนุษย์อยู่เสมอโดยจะถือแผ่นทองและดินสอมาด้วยและจะเที่ยวเดินดูไปทุกแห่งทั่วถิ่นฐานบ้านเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายในโลกมนุษย์ถ้าใครทำบุญประพฤติธรรมทำความดีก็จะเขียนชื่อและการกระทำลงบนแผ่นทองคำแล้วนำแผ่นทองคำไปให้ปัญจสิขรเทวบุตรซึ่งจะนำไปให้พระมาตุลีอีกต่อหนึ่ง พระมาตุลีจึงเอาไปทูลถวายแด่พระอินทร์ถ้าบัญชีในแผ่นทองมีมากเทวดาทั้งหลายก็จะแซ่ซ้องสาธุการ ด้วยความยินดีที่มนุษย์จะได้ขึ้นสวรรค์มาก แต่หากมนุษย์ใดทำความชั่วก็จะจดชื่อส่งบัญชีให้พญายมราช เพื่อให้นายนิรยบาลทั้งหลายจะได้ทำกรรมกรณ์ให้ต้องตามโทษานุโทษเท่าสัตว์นรกเหล่านั้น

ท้าวเวสสุวรรณ เป็น เทพแห่งขุมทรัพย์ เป็น มหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูตผีปีศาจทั้งปวง (ในคัมภีร์เทวภูมิ กล่าวไว้ว่า ท้าวเวสสุวรรณได้บำเพ็ญบารมี มาหลายพันปี รับพรจาก พระอิศวร พระพรหม ให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ) นอกจากนี้หน้าที่ของท้าวเวสสุวรรณมีมากมาย เช่น การดูแลปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา, ปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นต้น


ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวัง ความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูป ท้าวเวสสุวรรณ


ท้าวเวสสุวรรณ มีทั้งหมด 4 ภาค

- ท้าวเวสสุวรรณพรหมาสูติเทพ ชั้นพรหม มีรูปกายสีทอง ภูษาสีทอง

- ท้าวเวสสุวรรณเทพบุตรสูติเทพ ชั้นดาวดึงค์ มีรูปกายสีทอง ภูษาสีแดง

- ท้าวเวสสุวรรณ จาตุมมหาราช มีรูปกายสีเขียวหรือดำ ภูษาสีเขียว

- ท้าวเวสสุวรรณ ชั้นมนุษย์ มาในรูปแบบมนุษย์



คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ

จุดธูป 9 ดอก ดอกกุหลาบแดง 9 ดอก



ตั้ง นะโม 3 จบ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครูบาอาจารย์



ปุตตะ กาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง

อัตถิกาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตังสุตตะวา

อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ

มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชาชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต

เวสสะ พุสะ พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ